อ่านต่อ ฟ้องหย่าชาวต่างชาติ ในการฟ้องหย่าชาวต่างชาติจะใช้เวลานานกว่าฟ้องหย่าคนไทยด้วยกัน โดยจะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี แล้วแต่กรณี เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว ศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์แปลคำฟ้องและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เป็นภาษาราชการของประเทศตามสัญชาติของจำเลย และภาษาอังกฤษ เพื่อให้จำเลยรับทราบและเข้าใจคำฟ้องของโจทก์ ส่วนข้อกฎหมายที่จะใช้ในการพิจารณาคดีนั้น จะพิจารณาเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 แต่ทางโจทก์จะต้องนำสืบให้ถึงข้อกฎหมายของประเทศซึ่งเป็นสัญชาติของคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติให้ศาลเห็นว่า กฎหมายของคู่สมรสชาวต่างชาตินั้นยอมให้หย่าได้ หากท่านใดประสงค์จะฟ้องหย่าคู่สมรสชาวต่างชาติ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทางแชทไลน์ แอดไลน์ @tanaijim ได้เลยครับ
อ่านต่อ ยื่นคำร้องจดทะเบียนรับรองบุตร บุตรที่มิได้เกิดจากบิดาและมารดาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย บุตรจะไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา (แต่ยังคงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา) บิดาสามารถเข้าพบทนาย เพื่อให้ทนายยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา เพื่อให้บิดามีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ได้ สำหรับบิดาท่านใดที่ไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร เนื่องจากมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม หรือให้ความยินยอม แต่บุตรยังไร้เดียงสา ต้องยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้ไปจดทะเบียนรับรองบุตรได้ จากนั้นจึงนำคำสั่งศาลเช่นนี้ ประกอบกับหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่อำเภอหรือสำนักงานเขต เพื่อขอจดทะเบียนรับรองบุตร ในการจดทะเบียนรับรองบุตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ไม่ได้มีค่าธรรมเนียมนะครับ
อ่านต่อ เหตุแห่งการฟ้องหย่า เหตุแห่งการฟ้องหย่า มีอะไรบ้าง ?? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516