คดีเช็ค ว่าด้วยเรื่องความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔
มูลหนี้ตามเช็คที่จะก่อให้เกิดความผิดตามพรบ.เช็คได้ ต้องเป็นการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะชำระหนี้ที่มีอยู่จริงทั้งสิ้น ไม่ใช่การออกเช็คเพื่อค้ำประกันการชำระหนี้ หรือหนี้ตามเช็คมีมูลหนี้ที่แท้จริงเพียงบางส่วน
และผู้ออกเช็คต้องมีเจตนาในการออกเช็ค ดังนี้
1.) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
2.) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
3.) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
4.) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
5.) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต
เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น
คดีนี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
เมื่อคดีมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง
ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกันก็ได้ โดยศาลจะให้ทำสัญญาประกัน หรือสาบานตนต่อศาล แต่ในบางกรณีศาลอาจเรียกหลักประกัน ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็ค
ความผิดตามพรบ.เช็คนี้ เป็นความผิดอันยอมความได้ และในกรณีที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก่อนคดีถึงที่สุด ให้ถือว่าคดีเลิกกัน
ปรึกษาปัญหากฎหมาย สามารถสอบถามทางแชทหรือแอดไลน์ @tanaijim ได้เลยครับ