ปรึกษาทนายจิม
085-939-3392

Line ID: @tanaijim

บริษัท พีเอชลอว์ แอสโซซิเอท แอนด์ คอนซัลทิง จำกัด

ปรึกษาปัญหากฎมายเบื้องต้นฟรี
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร
คดีแพ่ง คดีอาญา คดีมรดก
ทนายความมืออาชีพ

รับว่าความในคดีแพ่ง

  • คดีจัดการมรดก/คดีแบ่งมรดก/คดีถอดถอนผู้จัดการมรดก

  • คดีผิดสัญญากู้ยืมเงิน/คดีบัตรเครดิต/คดีสินเชื่อส่วนบุคคล/คดีบัตรกดเงินสด

  • คดีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล/คดีถอนคืนการให้โดยเสน่ห์หา

  • คดีฟ้องร้องตามสัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

  • คดีขับไล่/คดีจ้างทำของ

  • คดีกู้ยืมเงิน/คดีค้ำประกัน/คดีจำนอง/คดีจำนำ/คดีตัวการตัวแทน/คดีนายหน้า/คดีประกันภัย

  • คดีเช็ค/คดีหุ้นส่วนบริษัท/คดีร้องขอครอบครองปรปักษ์/คดีทางภาระจำยอม/คดีทางจำเป็น

  • ทนายความ ทำคดีดี

รับว่าความคดีอาญา

  1. คดีทำให้เสียทรัพย์/คดีฉ้อโกง/คดีโกงเจ้าหนี้/คดียักยอกทรัพย์/คดีบุกรุก
  2. คดีลักทรัพย์/คดีวิ่งราวทรัพย์/คดีชิงทรัพย์/คดีปล้นทรัพย์/คดีกรรโชกทรัพย์/คดีรีดเอาทรัพย์
  3. คดีเช็ค/คดีความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์/คดีความผิดเกี่ยวกับการค้า/คดีร้องขอคืนของกลาง
  4. คดีพยายามฆ่า/คดีฆ่าคนตายโดยเจตนา/คดีฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
  5. คดีทำร้ายร่างกาย/คดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
  6. คดีพรากผู้เยาว์/คดีข่มขืนกระทำชำเรา/คดีกระทำอนาจาร
  7. คดีเปิดเผยความลับ/คดีหมิ่นประมาท/คดีตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

รับว่าความในศาลชำนัญพิเศษ

  • คดีเกี่ยวกับเยาวชนและครอบครัว

  • คดีปกครอง 

  • คดีแรงงาน

  • คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า

รับดำเนินการในชั้นบังคับคดี

  • ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สิน

  • ยึด อายัด ทรัพย์สิน / สิทธิเรียกร้อง ขายทอดตลาดทรัพย์สิน

About

ทำไมต้องเรา?

  • ขึ้นทะเบียนเป็นสำนักงานทนายความตามประกาศของนายทะเบียนสภาทนายความ ฉบับที่ 2/2546
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทนายความที่ปรึกษากฎหมายของศาลเยาวชนและครอบครัว
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสภาทนายความเป็นทนายความรับรองลายมือชื่อและเอกสาร Notarial Services Attorney ตามข้อบังคับสภาทนายความ พ.ศ. 2551
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับรองลายมือชื่อตาม พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535

 

ปรึกษาทนายจิม (ฟรี)

รับปรึกษาปัญหากฎหมายเบื้องต้นฟรี รับว่าความทั่วราชอาณาจักร คดีแพ่ง คดีอาญา คดีมรดก คดียื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก คดีครอบครัว คดีฟ้องหย่า...

ผลงาน

  • คดีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล
  • คดีพยายามฆ่า
  • คดีทำร้ายร่างกาย
  • คดีกู้ยืมเงิน
  • คดีละเมิดลิขสิทธิ์

ติดต่อเรา

รับปรึกษาปัญหากฎหมายเบื้องต้นฟรี
โทร. 085-939-3392

Line ID: @tanaijim
Facebook: ทนายจิม

คำพิพากษา

รับว่าความทั่วราชอาณาจักร

อ่านต่อ
คดีเช่าซื้อ : ทรัพย์ที่เช่าซื้อสุญหายมิใช้ความผิดผู้เช่าซื้อ

คำพิพากษาฎีกาที่ 6865/2560

ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย  จ.5 ข้อ 5 วรรคสอง ระบุว่า  “ในกรณีที่รถสูญหาย...ให้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุดลง  โดยหากเป็นความผิดของผู้เช่า และ/หรือเนื่องจากการที่ผู้เช่าได้ปฏิบัติผิดข้อตกลงใด ๆ  เกี่ยวกับการใช้รถตามที่ระบุในข้อ 4 และ/หรือผู้เช่าปฏิบัติผิดสัญญาเกี่ยวกับการทำประกันภัยตามที่ระบุในข้อ  7 วรรคแรก  ทำให้เจ้าของไม่อาจได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ผู้เช่าจะต้องรับผิดชำระค่าเสียหายไม่น้อยกว่าจำนวนหนี้คงค้างชำระตามสัญญานี้  แต่หากเป็นกรณีอื่น  ผู้เช่าต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นใดให้แก่เจ้าของจนครบถ้วนตามที่เจ้าของได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร”  ซึ่งข้อสัญญาที่ว่า  “...ผู้เช่าปฏิบัติผิดสัญญาเกี่ยวกับการทำประกันภัยตามที่ระบุในข้อ 7 วรรคแรก ทำให้เจ้าของไม่อาจได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ผู้เช่าจะต้องรับผิดชำระค่าเสียหายไม่น้อยกว่าจำนวนหนี้คงค้างชำระตามสัญญานี้...  ทั้งดูที่การที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อเป็นการขัดต่อประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา  เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2543  ข้อ 4 (4) ที่ระบุว่า ข้อ  4  ข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือมีความหมายทำนองเดียวกันดังต่อไปนี้  (4) ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนตามสัญญาในกรณีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย  ถูกทำลาย ถูกยึด  ถูกอายัด  หรือถูกริบ โดยมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ เว้นแต่ค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับหรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อ  ค่าทนายความ หรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร  ซึ่งเป็นประกาศที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญาเช่าซื้อ  เอกสารหมาย จ.5 ข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ผู้ให้เช่าซื้อคงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับ หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถามการติดตามรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อ  ค่าทนายความ หรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควรเท่านั้น  ซึ่งโจทก์จะเสียหายอย่างไร  เพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับว่าความสูญหายของรถยนต์ที่เช่าซื้อเกิดจากความผิดของจำเลย และทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์เสียหายอันเนื่องมาจากความผิดของจำเลยเพียงใดประกอบกันด้วย  เมื่อพิจารณาถึงรถยนต์ที่เช่าซื้อมีราคาเงินสดอยู่ที่ 642,056.07 บาท  โดยจำเลยได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์แล้วถึง  40 งวด  เป็นเงิน 373,296.40 บาท เมื่อพิจารณารวมกับผลประโยชน์ตอบแทนที่โจทก์ควรจะได้รับเป็นดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ไม่นำสืบว่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปเพียงใด เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงิน  75,000 บาท 

 

อ้างอิงมาจาก : https://www.supremecourt.or.th/

อ่านต่อ
คดีเช่าซื้อ : ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดในค่าขาดราคา

กรณีผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดในค่าขาดราคา

คำพิพากษาฎีกาที่ 1203/2565

ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ขณะที่จำเลยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนโจทก์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2561 จำเลยได้ชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 10 ประจำวันที่ 20 ตุลาคม 2561 แล้ว โดยจำเลยชำระล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2561 และโจทก์รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาข้อใดหรือมีหนี้ที่ต้องชำระตามสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์แต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจถือว่าจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 ซึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดราคาตามสัญญาข้อ 13 ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัย  เนื่องจากการแสดงเจตนาคืนรถอันจะถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อของผู้เช่าซื้อนั้น  ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 12 ระบุว่า “ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อในเวลาใด ๆ  เสียก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้องคืนและส่งมอบรถยนต์...และชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญานี้อยู่ในเวลานั้นทันที...”  ดังนั้น ต้องปรากฏว่าจำเลยยังคงมีหนี้หรือเงินที่ต้องชำระตามสัญญาเช่าซื้ออยู่ในขณะที่ส่งมอบรถคืนโจทก์  แต่เมื่อจำเลยไม่มีเงินหรือหนี้ที่ต้องชำระตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 573 สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันนับแต่วันที่จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ เมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยไม่ได้ประพฤติผิดสัญญาและไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา  573 ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาค่าเช่าซื้อตามสัญญาจากจำเลย และแม้จำเลยได้ตกลงที่จะรับผิดในบรรดาหนี้ค้างชำระที่เกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 13 ตามหนังสือแสดงเจตนาคืนรถของจำเลยเอกสารหมาย จ.8 แผ่นที่ 1 ดังที่โจทก์แก้ฎีกาก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวมิใช่สัญญาเช่าซื้อ เป็นเพียงหลักฐานการส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนและจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรับรองต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อว่าหากโจทก์นำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขายได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้คงค้างตามสัญญา  จำเลยจะยอมรับผิดชดใช้ส่วนที่ขาดแก่โจทก์  ซึ่งเอกสารดังกล่าวหามีผลให้จำเลยต้องรับผิดค่าขาดราคาตามที่ระบุไว้ในเอกสารไม่ เพราะกรณีเป็นการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่ทั้งที่ไม่มี เนื่องจากโจทก์และจำเลยไม่มีมูลหนี้ค่าขาดราคาต่อกันแล้ว  จึงไม่มีผลบังคับแก่กันได้ 

 

อ้างอิงมาจาก : https://www.supremecourt.or.th/

อ่านต่อ
คดีเช่าซื้อ : ผู้ให้เช่าซื้อเรียกค่าขาดราคารถยนต์ได้

ผู้เช่าซื้อแสดงเจตนาส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเพื่อเลิกสัญญา  แต่ผู้ให้เช่าซื้อยังคงอิดเอื้อน สงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญา จะถือว่าผู้ให้เช่าซื้อสมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยายหรือไม่ และผู้เช่าซื้อต้องรับผิดค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคาได้หรือไม่ ??


คำพิพากษาฎีกาที่ 6177/2564 

แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังเป็นยุติว่า ภายหลังจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่เป็นเวลาเกินกว่าสามงวดติดต่อกัน โจทก์จะยังมิได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามกับบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย และจำเลยเป็นฝ่ายแสดงเจตนาส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์เพื่อเลิกสัญญา  โดยสัญญาเช่าซื้อ มิได้มีข้อตกลงใดให้สิทธิจำเลยผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวยังไม่เพียงพอถือเป็นหลักเกณฑ์หรือข้อสรุปว่า  สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว  เพราะเหตุคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย ความสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายของคู่สัญญายังต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของโจทก์ในเวลารับมอบรถยนต์คืนด้วยว่าในขณะนั้นโจทก์ยินยอมพร้อมใจเลิกสัญญากับจำเลยโดยปริยาย ไม่ยึดถือปฏิบัติตามข้อสัญญารวมทั้งไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญาต่อจำเลยอีกแล้วหรือไม่ หากได้ความดังนั้นจึงจะถือว่าโจทก์สมัครใจเลิกสัญญากับจำเลยโดยปริยาย แต่หากได้ความในทางตรงกันข้ามว่าโจทก์ยังคงอิดเอื้อนโต้แย้งในการส่งมอบรถยนต์คืนของจำเลย หรือโจทก์เพียงรับมอบรถยนต์ไว้ด้วยความจำใจอย่างเสียไม่ได้เพราะต้องการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายจากการผิดสัญญาของจำเลยยิ่งขึ้นไปอีก โดยโจทก์ยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญาอันเป็นผลจากการประพฤติผิดสัญญาของจำเลยในเวลารับมอบรถยนต์ไว้ด้วยจะถือว่าโจทก์สมัครใจเลิกสัญญาโดยปริยายกับจำเลยย่อมมิได้  ในเรื่องนี้ข้อเท็จจริงได้ความจากหนังสือแสดงเจตนาส่งมอบทรัพย์สินคืน  ย่อหน้าสุดท้ายที่มีข้อความระบุว่า “...ในนามของบริษัท ก. ได้รับทรัพย์สินที่เช่าซื้อดังกล่าวแล้วในวันนี้และขอสงวนสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงมีตามสัญญาเช่าซื้อไว้ด้วยจนกว่าจะได้รับการชำระหนี้จากผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันครบถ้วน ข้อความที่ปรากฏในหนังสือดังกล่าวเป็นข้อชี้ถึงท่าทีของโจทก์ว่า  ในเวลาที่โจทก์รับมอบรถยนต์คืนจากจำเลย  โจทก์มิได้ยินยอมรับไว้โดยดุษณี  โจทก์ยังอิดเอื้อน โต้แย้งและสงวนสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันพึงเกิดมีขึ้นจากการประพฤติผิดสัญญาและการเลิกสัญญาด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนของจำเลยให้เป็นที่ประจักษ์แล้ว การแสดงเจตนาสงวนสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ในเวลารับมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยเช่นนี้นอกจากจะมิใช่การรับสภาพหนี้ของลูกหนี้ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๒  แผนกคดีผู้บริโภค  วินิจฉัยแล้ว ยังเป็นพฤติการณ์อันแสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้สมัครใจเลิกสัญญากับจำเลยโดยปริยาย การที่โจทก์รับมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยถือได้ว่าสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง โจทก์จึงชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคารถยนต์ตามข้อตกลงในสัญญาและตามสิทธิแห่งตนที่ได้อิดเอื้อนสงวนสิทธิไว้เช่นนั้นได้

 

อ้างอิง มาจาก https://www.supremecourt.or.th/

อ่านต่อ
คดีบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล

ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการต่อสู้คดี กรณีคดีขาดอายุความ

  • สินเชื่อส่วนบุคคล กรณีกำหนดจำนวนเงินชำระขั้นต่ำ

คำพิพากษาฎีกาที่ 2922/2561

ตามสัญญาสินเชื่อเงินสดกำหนดให้จำเลยชำระเพียงจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระ แม้โจทก์จะนำไปหักชำระเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยบางส่วนก็ตาม แต่หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาและภายในกำหนด จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน อันเป็นข้อตกลงว่า จำเลยอาจชำระหนี้ในอัตราขึ้นสูงเพียงใดก็ได้และสัญญามิได้กำหนดให้จำเลยต้องผ่อนชำระทุนคืนเป็นเวลากี่งวด ตามสัญญาสินเชื่อเงินสดจึงไม่มีลักษณะผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ตามปพพ.มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีอายุความห้าปี แต่มีอายุความสิบปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 

 

  • สินเชื่อส่วนบุคคล กรณีผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ

คำพิพากษาฎีกาที่ 2847/2562

ตามหนังสือรับสภาพหนี้ ตารางกำหนดชำระหนี้และหนังสือสัญญาค้ำประกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ รวม 103 งวด ดังนี้จึงถือได้ว่า  โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี นับแต่วันผิดนัด จำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดที่ 32 ซึ่งจะต้องชำระในวันที่ 1 มีนําคม 2553 โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้ทันทีตํามหนังสือรับสภาพหนี้ โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้คืนทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มต้นตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดอายุความ 5 ปี ในวันที่ 2 มีนาคม 2558 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 เกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วย

 

  • หนี้บัตรเครดิต รูดชำระค่าสินค้าและบริการ

คำพิพากษาฎีกาที่ 8051/2551

การที่โจทก์นำเงินฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยมาชำระหนี้ หลังจากสัญญาบัตรเครดิตและข้อตกลงในสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้วจึงเป็นการกระทำของโจทก์เอง หาใช่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้โดยชำระหนี้ให้เจ้าหนี้บางส่วนไม่ กรณีย่อมไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2544 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5484/2553

จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ ยอมผูกพันตามเงื่อนไขของผู้ถือบัตรตกลงให้โจทก์ทดรองจ่ายเงินอันเนื่องจากจำเลยใช้บัตรเครดิตไปชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือเบิกเงินสดล่วงหน้า โดยจำเลยยอมชำระคืนให้โจทก์ในภายหลัง อันเป็นการประกอบธุรกิจรับทำการงานต่างๆ แก่สมาชิก เมื่อโจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้แล้วโจทก์จะเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลัง จึงเป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7) การฟ้องเรียกเงินทดรองของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี เมื่อโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 พร้อมทั้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้นับแต่วันดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดอายุความในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2550 หลังครบกำหนดอายุความแล้วคดีจึงขาดอายุความ และการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงต้องกระทำก่อนที่จะขาดอายุความ เมื่อจำเลยชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ภายหลังจากขาดอายุความแล้ว จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุคาวามสะดุดหยุดลง การชำระหนี้ภายหลังขาดอายุความแล้วเพียงแต่ทำให้ลูกหนี้เรียกคืนไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/28

 

 

บทความ

บทความกฎหมาย

ระบบวิธีพิจารณาคดีปกครอง

อ่านต่อ
22 Nov 2024
ระบบไต่สวน ในคดีปกครอง เป็นอย่างไร ??
คดีปกครอง ใช้วิธีพิจารณาระบบไต่สวน หลังจากผู้ฟ้องคดี ฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ศาลจะกำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การ ต่อมาผู้ฟ้องคดีทำคำคัดค้านคำให้การ และผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การเพิ่มเติม โดยศาลจะกำหนดระยะเวลาในการแสวงหาข้อเท็จจริง ทั้งศาลสามารถเรียกเอกสาร หรือพยานหลักฐานต่างๆ จากหน่วยงานทางปกครองได้ เพื่อให้ได้พยานหลักฐานที่จำเป็นและครบถ้วน เพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาคดีต่อไป
สำหรับคดีปกครองที่ทนายได้รับมอบหมายคดีนี้ ศาลได้กำหนดวันสิ้นสุดแสวงหาข้อเท็จจริงแล้ว บรรดาเอกสารใดๆ ที่ยื่นภายหลังจากวันสิ้นสุดแสวงหาข้อเท็จจริง ศาลจะไม่รับไว้เป็นส่วนหนึ่งของสำนวนคดี
หลังวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริง ศาลจะทำการนั่งพิจารณาคดีต่อไป โดยจะแจ้งกำหนดวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกให้คู่กรณีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

คดีเช็คเด้ง

อ่านต่อ
20 Nov 2024
คดีเช็ค ว่าด้วยเรื่องความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔
 
มูลหนี้ตามเช็คที่จะก่อให้เกิดความผิดตามพรบ.เช็คได้ ต้องเป็นการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะชำระหนี้ที่มีอยู่จริงทั้งสิ้น ไม่ใช่การออกเช็คเพื่อค้ำประกันการชำระหนี้ หรือหนี้ตามเช็คมีมูลหนี้ที่แท้จริงเพียงบางส่วน
และผู้ออกเช็คต้องมีเจตนาในการออกเช็ค ดังนี้
1.) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
2.) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
3.) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
4.) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
5.) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต
 
เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น
คดีนี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
 
เมื่อคดีมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง
ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกันก็ได้ โดยศาลจะให้ทำสัญญาประกัน หรือสาบานตนต่อศาล แต่ในบางกรณีศาลอาจเรียกหลักประกัน ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็ค
 
ความผิดตามพรบ.เช็คนี้ เป็นความผิดอันยอมความได้ และในกรณีที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก่อนคดีถึงที่สุด ให้ถือว่าคดีเลิกกัน
 
ปรึกษาปัญหากฎหมาย สามารถสอบถามทางแชทหรือแอดไลน์ @tanaijim ได้เลยครับ

 

คดีวงแชร์

อ่านต่อ
20 Nov 2024

สำหรับคดีแชร์ที่หลายๆ ท่านสอบถามกันเข้ามาหากท่านใดเป็นท้าวแชร์ แนะนำให้เช็ควงแชร์ของท่านว่า ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ด้วยนะครับ

ตามพ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534

ได้ให้ความหมายของ ‘การเล่นแชร์’ ไว้ว่า

การที่บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์ โดยแต่ละคนมีภาระที่จะส่งเงินหรือทรัพย์สินอื่นใด รวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็นงวด ๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใด

โดยบุคคลที่จะเป็นนายวงแชร์ หรือ ท้าวแชร์ นั้น จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น

และวงแชร์ของท้าวแชร์ จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

(1) มีจำนวนวงแชร์รวมกันไม่เกิน 3 วง

(2) มีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงไม่เกิน 30 คน

(3) มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่า ไม่เกิน 3 แสนบาท

(4) ท้าวแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์นั้นไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกองกลาง ในการเข้าร่วมเล่นแชร์ในงวดหนึ่งงวดใดได้โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย

หากท้าวแชร์ท่านใด เปิดวงแชร์ ขัดต่อข้อหนึ่งข้อใดดังกล่าว มีโทษทั้งจำคุกและปรับนะครับ

 

และ……การเล่นแชร์ ห้ามโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ ด้วยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นท้าวแชร์เอง หรือบุคคลใดๆ ก็ตาม จะมีความผิดตามกฎหมายนะครับ

ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชู้ได้ในกรณีใดบ้าง

อ่านต่อ
01 Nov 2024

สามี/ภรรยา มีคนอื่นสามารถเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ ??

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิย์ มาตรา 1523 กำหนดไว้ว่า เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตร 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น

วรรคสอง สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้

วรรคสาม ถ้าสามีหรือภริยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทพการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้

คำว่า สามี หรือภริยา นั้นหมายถึง ชายหญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสกันเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย 

มิใช่สามีภริยาที่อยู่กินร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส

 

ฟ้องหย่าชาวต่างชาติ

อ่านต่อ
01 Nov 2024
ในการฟ้องหย่าชาวต่างชาติจะใช้เวลานานกว่าฟ้องหย่าคนไทยด้วยกัน
โดยจะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี แล้วแต่กรณี
 
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว ศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์แปลคำฟ้องและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เป็นภาษาราชการของประเทศตามสัญชาติของจำเลย และภาษาอังกฤษ เพื่อให้จำเลยรับทราบและเข้าใจคำฟ้องของโจทก์
ส่วนข้อกฎหมายที่จะใช้ในการพิจารณาคดีนั้น จะพิจารณาเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516
แต่ทางโจทก์จะต้องนำสืบให้ถึงข้อกฎหมายของประเทศซึ่งเป็นสัญชาติของคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติให้ศาลเห็นว่า กฎหมายของคู่สมรสชาวต่างชาตินั้นยอมให้หย่าได้
 
หากท่านใดประสงค์จะฟ้องหย่าคู่สมรสชาวต่างชาติ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทางแชทไลน์ แอดไลน์ @tanaijim ได้เลยครับ
ดูบทความทั้งหมด

ฝากข้อความถึงเรา

ปรึกษากฎหมาย

ปรึกษาทนายจิม (ฟรี)

085-939-3392
Line ID: @tanaijim
บริษัท พีเอช ลอว์ แอสโซซิเอท แอนด์ คอนซัลทิง จํากัด
888/154 ถนนศรีนครินทร์ แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250