ถ้าไม่มีเงินประกันตัว ต้องทำอย่างไร ??
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กำหนดไว้ว่า ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นต้องควบคุมหรือกักขังผู้ต้องหา/จำเลย ก็ควรปล่อยตัวผู้ต้องหา/จำเลย ไปชั่วคราว
สำหรับคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 10 ปี ตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ให้ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้ โดยไม่ต้องประกันตัว และถือเป็นการปฏิบัติตามหลักการของรัฐธรรมนูญที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิดมิได้
เมื่อศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ของคดีและตัวจำเลยแล้ว เห็นว่าคดีมีอัตราโทษไม่สูง และจำเลยไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ศาลอาจใช้ดุลพินิจปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยโดยไม่มีหลักประกันได้ โดยจะไม่มีการทำสัญญาประกันหรือวางหลักประกันต่อศาล แต่ศาลจะให้จำเลยสาบานตนหรือปฏิญาณตนว่าจะมาศาลตามกำหนดนัดทุกนัด
การขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน สามารถกระทำได้โดยยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน หรือแถลงด้วยวาจาต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน ก็ได้
แต่หากศาลไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน ศาลก็จะมีคำสั่งทำสัญญาประกัน หรือวางหลักประกันต่อศาล แต่กรณีไม่มีทุนทรัพย์ในการประกันตัวจริงๆ ก็ต้องขอศาลให้ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ EM ครับ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แอดไลน์ @tanaijim ครับ