ปรึกษาทนายจิม
085-939-3392

Line ID: @tanaijim

คำพิพากษา

อ่านต่อ
โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 ต้องห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้ฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาฎีกาที่ 1263/2567    ป.พ.พ.มาตรา653 กู้ยืม/ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 ภาระการพิสูจน์

    จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ยืมเงิน 1,500,000 บาท ที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์โอนเพิ่มเติมให้จำเลยไป โจทก์มีภาระการพิสูจน์แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญมานำสืบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 3 จึงฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระเงินกู้ไม่ได้ซึ่งหมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีตามฟ้องแย้งจำเลยด้วย

อ่านต่อ
ไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่

คำพิพากษาศาลฏีกา 471-472/2567

     โจทก์ไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและกลับปล่อยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเพื่อตนเองมาตลอดนับตั้งแต่โจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ เท่ากับโจทก์สละสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและยอมโอนสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้ว เป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 การที่โจทก์กลับมาอ้างสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินและฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 จำเลยทั้งสองซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินแต่กลับเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและลักลอบซื้อขายที่ดินพิพาทกันเป็นทอดๆ อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเรื่องที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิในที่ดินพิพาท ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 จะต้องว่ากล่าวเอาแก่จำเลยทั้งสองเอง ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง

อ่านต่อ
จำเลยยื่นคำฟ้องฎีกา โดยมิได้ยื่นคำร้องเพื่อขอให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2567 (ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่)

     ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาคดีส่วนอาญายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี กรณีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรค 1 ฎีกาของจำเลยในคดีส่วนอาญาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว 

     ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติวิธีการขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสาม และมาตรา 252 มาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ด้วยการยื่นคำร้องขออนุญาตถึงผู้พิพากษานั้น แต่ก็เป็นเพียงการนำมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้เท่านั้น ทั้งเหตุผลที่ต้องให้ผู้ฎีกาว่าประสงค์ให้ผู้พิพากษาคนใดพิจารณาอนุญาตให้ฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพื่อที่ศาลที่รับคำร้องจะได้ส่งคำร้องพร้อมสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าวพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคสอง และมาตรา 223 บัญญัติให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นตรวจฎีกาว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลฎีกาหรือไม่ เมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจตรวจฎีกา และเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดก็ย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไปในคำฟ้องฎีกาเสียทีเดียวได้ แม้จำเลยจะมิได้ยื่นคำร้องเพื่อขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมาด้วยก็ตาม เพราะถือเป็นดุลพินิจเด็ดขาดของผู้พิพากษาที่สั่งอนุญาต การที่ผู้พิพากษาดังกล่าวตรวจฎีกาแล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด จึงอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และรับฎีกาของจำเลยไว้ จึงเป็นกรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องตามเจตนารมณ์แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 แล้ว ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยต่อไปได้      

อ่านต่อ
ผูู้้รับจำนองซึ่งทรงทรัพยสิทธิจำนองย่อมมีสิทธิบังคับจำนอง แม้หนี้ที่ประกันที่เป็นประธานขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกา 314/2567

     สิทธิจำนองเป็นทรัพยสิทธิจะรังับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา744(1) ถึง (6) ผู้รับจำนองซึ่งทรงทรัพยสิทธิจำนองย่อมมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันหรือสิทธิเรียกร้องที่เป็นประธานจะขาดอายุความ เพียงแต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/27 และมาตรา 745 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่แก่คู่กรณีที่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน และหากเจ้าหนี้ประสงค์จะบังคับตามสิทธิก็ต้องฟ้องเป็นคดีต่อศาลเพราะเหตุถูกลูกหนี้โต้แย้งสิทธิ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อันเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติและกระบวนพิจารณาก็ต้องบังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 274 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายถึงตั้งแต่มีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น 

    ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และจำเลยผิดนัดตามสัญญาแระนีประนอมยอมความตั้งแต่งวดแรกวันที่ 30 มิถุนายน 2543 การร้องขอให้บังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินจำนองต้องกระทำในระยะเวลา10 ปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์เพิ่งยื่นคำขอฉบับลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินจำนองของจำเลยล่วงพ้นระยะเวลาา 10 ปีนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 แล้ว มีผลเพียงทำให้โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจำนองของจำเลย แต่ทรัพยสิทธิจำนองยังคงอยู่และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจำนองต่อไปได้

     

อ่านต่อ
ผู้ฟ้องเปิดทางจำเป็นไม่จำต้องเสนอชดใช้ค่าทดแทน แต่เป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ดินที่ถูกฟ้องต้องเรียกร้องเอง

คำพิพากษาฎีกา 313/67

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 134 วรรคสี่ มิได้กำหนดว่าผู้มีสิทธิผ่านทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการขอเปิดทางผ่านก่อนจึงใช้ทางจำเป็นได้ ดังนั้นการฟ้องเปิดทางจำเป็นไม่จำต้องเสนอชดใช้ค่าทดแทนที่ดินแต่เป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ดินที่ถูกฟ้องเปิดทางจำเป็นต้องเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินเอง จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมไม่ได้เสนอค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมและเจ้าของที่ดินที่ล้อมไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อม คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทนที่จะต้องพิจารณาและเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสามต้องว่ากล่าวเป็นคดีอื่น

   การเรียกร้องค่าทดแทนเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อชดเชยความเสียหายอันที่เกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสามมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนการใช้ที่ดินจากจำเลยเป็นคดีต่างหากได้ หากศาลในคดีก่อนวินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยได้สิทธิทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม โดยโจทก์ทั้งสามไม่จำต้องฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนมาในคำให้การ

    เมื่อประมวกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความใช้ค่าทดแทนในการเปิดทางจำเป็น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30