ปรึกษาทนายจิม
085-939-3392

Line ID: @tanaijim

ปรึกษาทนาย

อ่านต่อ
ลูกนอกสมรสมีสิทธิรับมรดกมั้ยคะ ??
ถาม : เป็นลูกของพ่อ แต่พ่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับแม่ (ลูกนอกสมรส) เราจะมีสิทธิรับมรดกของพ่อมั้ยคะ/ครับ ??
ตอบ : มีสิทธิได้รับเท่ากันกับลูกในสมรสเลยค่ะ กฎหมายพิจารณาผู้สืบสันดานที่มีสิทธิรับมรดกตามสายเลือด
 
ส่วนใครจะมีสิทธิร้องขอจัดการมรดกต่อศาลได้บ้างได้แก่
1. ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก พิจารณาตามลำดับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ได้แก่ ผู้สืบสันดาน/คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส, บิดามารดา, พี่น้องร่วมบิดามารดเดียวกัน, พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน, ปู่ย่าตายาย, ลุงป้าน้าอา
2. ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์มรดก, วัด (ทรัพย์มรดกของพระ), เจ้าหนี้ เป็นต้น
3. พนักงานอัยการ
ในการยื่นคำร้องขอจัดการมรดก ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอจัดการมรดกต้องยื่นต่อศาล ตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ซึ่งก็คือ ตามทะเบียนบ้านของเจ้ามรดกขณะเจ้ามรดกเสียชีวิต
แต่มีกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร เช่น พ่อเป็นชาวต่างชาติ มีที่ดินอยู่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กรณีนี้ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องดังข้างต้น สามารถยื่นต่อศาลที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่ในเขตศาล ซึ่งก็คือศาลจังหวัดชลบุรี
อ่านต่อ
ถ้าไม่มีเงินประกันตัว ต้องทำอย่างไร ??

ถ้าไม่มีเงินประกันตัว ต้องทำอย่างไร ??

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

กำหนดไว้ว่า ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นต้องควบคุมหรือกักขังผู้ต้องหา/จำเลย ก็ควรปล่อยตัวผู้ต้องหา/จำเลย ไปชั่วคราว

สำหรับคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 10 ปี ตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ให้ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้ โดยไม่ต้องประกันตัว และถือเป็นการปฏิบัติตามหลักการของรัฐธรรมนูญที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิดมิได้

เมื่อศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ของคดีและตัวจำเลยแล้ว เห็นว่าคดีมีอัตราโทษไม่สูง และจำเลยไม่มีพฤติการณ์หลบหนี  ศาลอาจใช้ดุลพินิจปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยโดยไม่มีหลักประกันได้ โดยจะไม่มีการทำสัญญาประกันหรือวางหลักประกันต่อศาล แต่ศาลจะให้จำเลยสาบานตนหรือปฏิญาณตนว่าจะมาศาลตามกำหนดนัดทุกนัด 

การขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน สามารถกระทำได้โดยยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน หรือแถลงด้วยวาจาต่อศาลขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน ก็ได้

แต่หากศาลไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกัน ศาลก็จะมีคำสั่งทำสัญญาประกัน หรือวางหลักประกันต่อศาล แต่กรณีไม่มีทุนทรัพย์ในการประกันตัวจริงๆ ก็ต้องขอศาลให้ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ EM ครับ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แอดไลน์ @tanaijim ครับ

อ่านต่อ
ประกันตัวจำเลยในคดีอาญา

ถาม : หากเป็นจำเลยในคดีอาญา จะต้องทำเรื่องประกันตัวในชั้นศาลยังไงครับ ?

ตอบ : การถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญา มีทั้งกรณีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี และกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง

  • กรณีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี สามารถประกันตัวได้ตั้งแต่วันที่อัยการส่งตัวฟ้องคดีต่อศาล 
  • กรณีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง เมื่อศาลมีคำสั่งประทับรับฟ้องโจทก์แล้ว จำเลยต้องติดต่อศาลเพื่อทำเรื่องประกันตัวภายในวันนัดถัดไป

ทั้งสองกรณี สามารถโทรสอบถามวงเงินประกันตัวที่ศาลที่ถูกดำเนินคดีได้เลยครับ โดยแจ้งข้อหาที่ตนถูกฟ้องคดี