ปรึกษาทนายจิม
085-939-3392

Line ID: @tanaijim

บทความ

อ่านต่อ
ระบบวิธีพิจารณาคดีปกครอง
ระบบไต่สวน ในคดีปกครอง เป็นอย่างไร ??
คดีปกครอง ใช้วิธีพิจารณาระบบไต่สวน หลังจากผู้ฟ้องคดี ฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ศาลจะกำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การ ต่อมาผู้ฟ้องคดีทำคำคัดค้านคำให้การ และผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การเพิ่มเติม โดยศาลจะกำหนดระยะเวลาในการแสวงหาข้อเท็จจริง ทั้งศาลสามารถเรียกเอกสาร หรือพยานหลักฐานต่างๆ จากหน่วยงานทางปกครองได้ เพื่อให้ได้พยานหลักฐานที่จำเป็นและครบถ้วน เพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาคดีต่อไป
สำหรับคดีปกครองที่ทนายได้รับมอบหมายคดีนี้ ศาลได้กำหนดวันสิ้นสุดแสวงหาข้อเท็จจริงแล้ว บรรดาเอกสารใดๆ ที่ยื่นภายหลังจากวันสิ้นสุดแสวงหาข้อเท็จจริง ศาลจะไม่รับไว้เป็นส่วนหนึ่งของสำนวนคดี
หลังวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริง ศาลจะทำการนั่งพิจารณาคดีต่อไป โดยจะแจ้งกำหนดวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกให้คู่กรณีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
อ่านต่อ
คดีเช็คเด้ง
คดีเช็ค ว่าด้วยเรื่องความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔
 
มูลหนี้ตามเช็คที่จะก่อให้เกิดความผิดตามพรบ.เช็คได้ ต้องเป็นการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะชำระหนี้ที่มีอยู่จริงทั้งสิ้น ไม่ใช่การออกเช็คเพื่อค้ำประกันการชำระหนี้ หรือหนี้ตามเช็คมีมูลหนี้ที่แท้จริงเพียงบางส่วน
และผู้ออกเช็คต้องมีเจตนาในการออกเช็ค ดังนี้
1.) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
2.) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
3.) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
4.) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
5.) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต
 
เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น
คดีนี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
 
เมื่อคดีมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง
ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกันก็ได้ โดยศาลจะให้ทำสัญญาประกัน หรือสาบานตนต่อศาล แต่ในบางกรณีศาลอาจเรียกหลักประกัน ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็ค
 
ความผิดตามพรบ.เช็คนี้ เป็นความผิดอันยอมความได้ และในกรณีที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก่อนคดีถึงที่สุด ให้ถือว่าคดีเลิกกัน
 
ปรึกษาปัญหากฎหมาย สามารถสอบถามทางแชทหรือแอดไลน์ @tanaijim ได้เลยครับ

 

อ่านต่อ
คดีวงแชร์

สำหรับคดีแชร์ที่หลายๆ ท่านสอบถามกันเข้ามาหากท่านใดเป็นท้าวแชร์ แนะนำให้เช็ควงแชร์ของท่านว่า ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ด้วยนะครับ

ตามพ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534

ได้ให้ความหมายของ ‘การเล่นแชร์’ ไว้ว่า

การที่บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์ โดยแต่ละคนมีภาระที่จะส่งเงินหรือทรัพย์สินอื่นใด รวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็นงวด ๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใด

โดยบุคคลที่จะเป็นนายวงแชร์ หรือ ท้าวแชร์ นั้น จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น

และวงแชร์ของท้าวแชร์ จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

(1) มีจำนวนวงแชร์รวมกันไม่เกิน 3 วง

(2) มีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงไม่เกิน 30 คน

(3) มีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันทุกวงเป็นมูลค่า ไม่เกิน 3 แสนบาท

(4) ท้าวแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์นั้นไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จะได้รับทุนกองกลาง ในการเข้าร่วมเล่นแชร์ในงวดหนึ่งงวดใดได้โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย

หากท้าวแชร์ท่านใด เปิดวงแชร์ ขัดต่อข้อหนึ่งข้อใดดังกล่าว มีโทษทั้งจำคุกและปรับนะครับ

 

และ……การเล่นแชร์ ห้ามโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ ด้วยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นท้าวแชร์เอง หรือบุคคลใดๆ ก็ตาม จะมีความผิดตามกฎหมายนะครับ

อ่านต่อ
ฟ้องหย่าชาวต่างชาติ
ในการฟ้องหย่าชาวต่างชาติจะใช้เวลานานกว่าฟ้องหย่าคนไทยด้วยกัน
โดยจะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี แล้วแต่กรณี
 
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว ศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์แปลคำฟ้องและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เป็นภาษาราชการของประเทศตามสัญชาติของจำเลย และภาษาอังกฤษ เพื่อให้จำเลยรับทราบและเข้าใจคำฟ้องของโจทก์
ส่วนข้อกฎหมายที่จะใช้ในการพิจารณาคดีนั้น จะพิจารณาเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516
แต่ทางโจทก์จะต้องนำสืบให้ถึงข้อกฎหมายของประเทศซึ่งเป็นสัญชาติของคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติให้ศาลเห็นว่า กฎหมายของคู่สมรสชาวต่างชาตินั้นยอมให้หย่าได้
 
หากท่านใดประสงค์จะฟ้องหย่าคู่สมรสชาวต่างชาติ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทางแชทไลน์ แอดไลน์ @tanaijim ได้เลยครับ
อ่านต่อ
ยื่นคำร้องจดทะเบียนรับรองบุตร

บุตรที่มิได้เกิดจากบิดาและมารดาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย

บุตรจะไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา (แต่ยังคงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา)
บิดาสามารถเข้าพบทนาย เพื่อให้ทนายยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา เพื่อให้บิดามีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ได้ 
สำหรับบิดาท่านใดที่ไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร เนื่องจากมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม
หรือให้ความยินยอม แต่บุตรยังไร้เดียงสา ต้องยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้ไปจดทะเบียนรับรองบุตรได้ จากนั้นจึงนำคำสั่งศาลเช่นนี้ ประกอบกับหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่อำเภอหรือสำนักงานเขต เพื่อขอจดทะเบียนรับรองบุตร
ในการจดทะเบียนรับรองบุตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ไม่ได้มีค่าธรรมเนียมนะครับ